วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเทศมาเลเซีย


ขอขอบคุณภาพจาก httpssites.google.comsitenongorry1laksna-phumiprathes

ประเทศมาเลเซีย “Malaysia”  เป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแบ่งออกเป็น  2 แผ่นดิน
ขอขอบคุณภาพจาก http://aseanroom.edupol.org/adata.html
โดยมีทะเลจีนใต้กั้น แผนดินส่วนแรก คือ คาบสมุทรมลายู หรือ มาเลเซียตะวันตก มีพรมแดนทางทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ แผนดินส่วนที่สอง คือ ตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว หรือ มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน ในปัจจุบันประเทศมาเลเซียประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐใหญ่ๆ ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329
,758 ตารางกิโลเมตร  และมีจำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ เศรษฐกิจสำคัญของประเทศคือ  ยางพารา แร่ดีบุก แร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ ซึ่งส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีการทำป่าไม้ อุตสาหกรรม อีกด้วย ประเทศมาเลเซียมีการปกครองแบบ ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา และมีพระมหากษัตริย์และมีนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกันกับประเทศไทย

ที่ตั้งประเทศ

       ประเทศมาเลเซียตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใกล้เส้นศูนย์สูตร ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑ และ ๗ องศาเหนือ กับ เส้นแวงที่ ๑๐๐ และ ๑๑๙ องศาตะวันออกประกอบด้วยแผ่นดินสองส่วน คือ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก 


แผ่นดินมาเลเซียตะวันตก
ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมาเลเซีย ปัจจุบันประกอบด้วยรัฐต่างๆ ๑๑ รัฐ ได้แก่ ยะโฮร์ เคดาห์ กลันตัน มะละกา เนกรี-เซมบิลัน ปาหัง ปีนัง เปรัค เปอร์ลิส ตรังกานู และเซลังงอร์
ขอขอบคุณ ภาพจากhttp://www.thaibizmalay.com/Thai
BizMalay/index.php?option=com_content&view=ar
ticle&id=192:2013-08-30-02-09-17&catid=66:fact-sheets
ส่วนที่ยาวที่สุดจากรัฐเปอร์ลิสถึงช่องแคบยะโฮร์ ยาว ๗๔๐ กิโลเมตร ส่วนกว้างที่สุดจากฝั่งตะวันออกถึงฝั่งตะวันตก กว้าง ๓๒๐ กิโลเมตร มีพื้นที่รวม ๑๓๑
,๕๘๗.๖๗ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และหนองบึง ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่


แผ่นดินมาเลเซียตะวันออก

        ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกาลิมันตันหรือเกาะบอร์เนียว
ขอขอบคุณภาพจาก http://malaysia.moohin.in.th/?page_id=144
ปัจจุบันประกอบด้วย ๒ รัฐคือ ซาบาห์ และซาราวัคโดยมีประเทศบรูไนคั่นอยู่ระหว่างรัฐทั้งสองมีพื้นที่๑๙๘
,๘๙๗.๔ ตารางกิโลเมตร






ทิศเหนือของประเทศมาเลเซีย  :  มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศไทย
ทิศใต้ของประเทศมาเลเซีย   :  มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศสิงคโปร์
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมาเลเซีย :   มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศฟิลิปปินส์
ทิศตะวันตกของประเทศมาเลเซีย  :  มีอาณาเขตติดต่อกับช่องแคบมะละกาและเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง :
 มีชื่อว่า กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
เมืองราชการ : มีชื่อว่า เมืองปุตราจายา (Putrajaya)

ประชากร
            มาเลเซียมีประชากรอยู่หนาแน่นบนแหลมมลายู บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันตก โดยมีประชากรประมาณร้อยละ ๘๒ รองลงมาคือ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนที่อยู่ในเกาะบอร์เนียว มีประชากรอยู่หนาแน่น บริเวณที่ราบชายฝั่งทางตอนใต้ของรัฐซาราวัค แถบบริเวณแม่น้ำ มาเลเซียมีหลายเชื้อชาติ ประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียวและยังมีชนเผ่าน้อยในรัฐซาบาห์ และซาราวัค ทำให้เกิดเป็นชาติพันธุ์ลูกครึ่งเชื้อชาติต่างๆ เช่น  ชาวมาเลย์  อินเดีย จีน ในปี พ..2549 มีประชากรทั้งหมด 26.24 ล้านคน
 

ภาษาที่ใช้
       ภาษาหลักที่ใช้เป็นภาษามาเลย์(Bahasa Malaysia) เป็นภาษาราชการ และยังมีภาษา อังกฤษ จีน และทมิฬเป็นภาษารองโดยใช้กันทั่วไป

ศาสนา
       ส่วนใหญ่ในประเทศนับถือศาสนา อิสลาม ส่วนใหญ่(ร้อยละ 60.4) และยังมีศาสนาพุทธ(ร้อยละ 19.2) ศาสนาคริสต์(ร้อยละ 11.6) ศาสนาฮินดู(ร้อยละ 6.3) และศาสนาอื่นๆ (ร้อยละ 2.5)

หน่วยเงินตรา
       ประเทศมาเลเซียมีสกุลเงินว่าริงกิต โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 10.42 บาท ต่อ 1 ริงกิต
ขอขอบคุณภาพจาก


อาหารประจำชาติ
                สำหรับอาหราของประเทสมาเลเซียนะครับ ก็มี 2 ชนิด ด้วยกันนะครับ  อย่างแรกก็คือ นาซิ เลอมัก(Nasi Lemak)”นี้เป็นอาหารยอดนิยมของมาเลเซีย ทำจาก ข้าวหุงกับกะทิและใบเตย ทานพร้อม เครื่องเคียง 4 อย่างได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ  นาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะ ห่อด้วยใบตองและมักทานเป็นอาหารเช้าแต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลาย ในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทย
ขอขอบคุณภาพจาก httpen.wikipedia.orgwiki
Fish_head_curry
และอย่างที่สองคือ แกงหัวปลา(Curry Fishhead)”  แกงหัวปลาเป็นอาหารมาเลที่ผสมผสานด้วย เครื่องเทศและใบการี่ลีฟ ซึ่งเป็นผักของอินเดีย รสชาตินั้นกลมกล่อมมาก เคล็ดลับที่สำคัญของอาหารจานนี้คือหัวปลาจะต้องไม่คาวเพราะ หากหัวปลาคาวแล้วก็จะทำให้น้ำแกงคาวไปด้วยและทำให้รสชาติไม่อร่อย



สัตว์ประจำชาติ
           สัตว์ประจำชาติมาเลเซียนะครับก็คือ เสือโคร่งมลายู
ขอขอบคุณภาพจาก httppitchayaninny.blogspo
t.com2013065-malaysia.html
ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้ายน่ากลัวมากเลยครับ
  เสือโคร่งมลายู หรือ เสือโคร่งมาเลเซีย เสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Panthera tigris jacksoni” ในวงศ์ “Felidae” เมื่อปี ค.ศ. 2004 อันเนื่องจากดีเอ็นเอที่ต่างกับสายพันธุ์อื่น จึงได้เป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ใหม่ มีถิ่นฐานอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู พบในป่าดิบชื้นของมาเลเซีย และป่าตอนใต้สุดของไทยที่ติดกับชายแดน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976 กฎหมายของมาเลเซียระบุให้เสือโคร่งเป็นสัตว์คุ้มครองอย่างเข้มงวดภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่า ในปีนั้น กรมสัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติประเมินว่ายังมีเสือโคร่งอยู่ในประเทศประมาณ 300 ตัว มาเลเซียประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการควบคุมและลดปริมาณการล่าสัตว์ ในช่วงปี ค.ศ. 1972-ค.ศ. 1976 มีการล่าเสือโคร่งถึง 19 ตัวต่อปีโดยเฉลี่ย แต่ในปัจจุบันเหลือประมาณ 1 ตัวต่อปีเท่านั้น และประชากรเสือโคร่งได้เพิ่มขึ้น ในปี ค.ศ. 2007 คาดว่ามี ปริมาณเสือโคร่งมาเลเซียวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 490 ตัวเท่านั้นครับ

ดอกไม้ประจำชาติ
ขอขอบคุณภาพจาก httppitchayaninny.
blogspot.com2013065-malaysia.html
            สำหรับดอกไม้ประจำชาติมาเลเซียนะครับก็คือ ดอกพู่ระหง” หรือ ดอกชบา ที่เรารู้จักกันนิเองครับ แต่คนมาเลเซียเรียก ดอกชบา นี้ว่าดอก Bunga raya หรือดอกพู่ระหง ชื่อพื้นเมืองของที่โน้น เรียกว่า บุหงารายอ ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ดอกไม้นี้มีความหมายนะครับ กลีบดอก 5 กลีบของดอก เป็นตัวแทน 5 หลักการแห่งความเป็นชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นปรัชญาเพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ ดอกพู่ระหงพบได้ทั่วไปในประเทศมาเลเซีย และบางส่วนของต้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และความงามได้อีกด้วย


ภูมิอากาศ
            ประเทศมาเลเซียมาเลเซียตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศภาคพื้นสมุทร อากาศร้อนชื้นและฝนตกชุก อยู่ภายใต้อิทธิพลของกระแสลมจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งทำให้เกิดฝนในเขตชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมาเลเซียชายฝั่งรัฐซาบาห์และซาราวัค ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อุณหภูมิประจำวันโดยเฉลี่ยแตกต่างกันระหว่าง ๒๑-๓๒ องศาเซลเซียส และบริเวณที่สูงมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง ๒๖-๒๙ องศาเซลเซียส ความชื้นประมาณร้อยละ ๘๐ จำนวนน้ำฝนวัดได้ต่อปีอยู่ระหว่าง ๒,๐๓๒ ถึง ๒,๕๔๐ มิลลิเมตร


ลักษณะภูมิประเทศ
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก
 httpwww.ce7plus.comindex.phpopt
ion=com_content&view=article
&id=1782013-10-02-07-18-55&catid=652013-10-02
-07-19-37&Itemid=103&lang=zh
            มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนแหลมมลายู ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และหนองบึง ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่  บริเวณชายฝั่งตะวันตก ที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ชายฝั่งเต็มไปด้วยหนองบึง และป่าไม้โกงกาง ผิวดินเป็นดินเหนียว และโคลนตม คงมีเหลือพื้นที่ราบซึ่งเป็นดินทรายบางบริเวณ พื้นดินตอนในห่างจากบริเวณที่ราบชายฝั่งสองด้าน ค่อย ๆ เปลี่ยนระดับเป็นที่ราบสูง บริเวณเชิงเขา พื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินแดง และดินปนทราย ดินเหนียวและดินลูกรัง
            มาเลเซียตะวันออก  ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ
                ที่ราบชายฝั่ง และริมทะเลมีหนองบึง และป่าโกงกาง ที่เชิงเขา และทิวเขาสูงมีความสูงชัน มีเหวลึกปกคลุมด้วยป่าทึบยากแก่การสัญจร มียอดเขาสูงสุดอยู่ทางภาคเหนือ มีลักษณะผิวดินแตกต่างกันออกไป บริเวณพื้นที่รอบชายฝั่งส่วนใหญ่เป็นประเภทดินเหนียว และดินโคลนตม ซึ่งมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ในบริเวณบางแห่งมีกรวดทรายปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก
            เทือกเขา  เทือกเขาสำคัญของมาเลเซียประกอบด้วยเทือกเขาบินดัง เทือกเขาโกฮิมหรือเทือกเขา
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก
http://203.172.179.24/historysk1/his4/asean6.htm
กลาง เทือกเขาตรังกานู ในแหลมมลายู และเทือกเขากินาบาลู ในเกาะบอร์เนียว ซึ่งมียอดเขาโกตาคินาบาลูเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในมาเลเซีย
            แหล่งน้ำ  ในแหลมมลายูมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำคาดาห์ แม่น้ำซุนดา แม่น้ำเกรียน แม่น้ำเปรัค แม่น้ำปาหัง แม่น้ำกลันตัน แม่น้ำมุดา แม่น้ำเบอร์นัม แม่น้ำสลังงอร์และแม่น้ำกลัง
            ในเกาะบอร์เนียวมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำรายัง มีความยาวประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร  แม่น้ำมาลุย ยาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำกินาบาดางัน
            ชายฝั่งทะเล  ในแหลมมลายูฝั่งทะเลด้านตะวันออกติดต่อกับทะเลจีนใต้ ลักษณะท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยปะการัง และหินใต้ทะเลน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่าง ๆ ฝั่งทะเลมีความยาวประมาณ ๑,๙๐๐ กิโลเมตร  บริเวณชายฝั่งมีความลึกตั้งแต่ ๑๒๐ - ๓๐๐ ฟุต เป็นหาดทรายยาวเหยียดติดต่อกัน มีที่ราบลุ่มอยู่เป็นบางตอน ฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นหาดเลน พื้นที่ลึกเข้าไปในบริเวณชายฝั่งเป็นที่ลุ่ม และหนองบึง และป่าไม้โกงกาง คงมีเฉพาะบางแห่งเท่านั้นที่มีหาดทราย
            ในเกาะบอร์เนียว ฝั่งทะเลบริเวณใต้สุดของทะเลจีนใต้ ท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวมีความลึกพอสมควร มีกลุ่มหินปะการังอยู่เป็นหย่อม ๆ ในระยะลึก นอกจากนั้นยังมีหินใต้น้ำอยู่เป็นบางตอนในบริเวณใกล้ชายฝั่ง เป็นอุปสรรคในการเดินเรือใกล้ฝั่ง บริเวณฝั่งทะเลรัฐซาราวัคมีความลึกใกล้ฝั่งประมาณ ๒๐ - ๓๐ ฟุต  ห่างออกไปจากฝั่ง บางพื้นที่ลึกมาก บางแห่งลึกประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ ฟุต
            บริเวณชายฝั่งของรัฐซาบาห์ ทิศเหนือติดต่อกับทะเลจีนใต้ ความลึกของทะเลมีมากกว่ารัฐซาราวัค 
(ขอขอบคุณข้อมูลลักษณะภูมิประเทศจาก http://asean-malaysia.blogspot.com/2012/01/blog-post.html)


ข้อควรจำก่อนเที่ยวมาเลเซียนะครับ
            มาเลเซียเป็นประเทศที่ผู้คนใช้ชีวิตอย่างง่ายๆ สบายๆ อย่างไรก็ตาม เรามีขนมธรรมเนียมเป็นของตนเอง ผู้มาเยือนควรปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมเหล่านี้เมื่อเดินทางมาถึงมาเลเซีย ขนมธรรมเนียมทั่วไป เช่น ถึงแม้ว่าการจับมือทักทายจะได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง แต่สุภาพสตรีมุสลิมบางคนอาจเลือกที่จะทักทายสุภาพบุรุษด้วยการพยักหน้าเล็กน้อยและยิ้ม
            การจับมือทักทายจึงควรให้สุภาพสตรีเป็นผู้เริ่มก่อน การทักทายแบบดั้งเดิมหรือที่เรียกว่าซาลามคล้ายกับการแตะมือด้วย 2 มือ โดยไม่ได้จับมือของอีกฝ่าย ผู้ชายจะยื่นมือทั้งสองข้างมาข้างหน้าและสัมผัสกับมือของอีกฝ่ายที่ยื่นออกมาในลักษณะเดียวกัน จากนั้นจึงดึงมือทั้งสองข้างกลับมาแตะบริเวณหน้าอก หมายความว่า "ผมทักทายคุณด้วยหัวใจ" เมื่อได้รับการทักทายด้วยการซาลาม นักท่องเที่ยวควรทักทายด้วยการซาลามกลับไป
             ก่อนที่จะเดินทางไปเยี่ยมบ้านของผู้อื่น ควรจะตะโกนแจ้งเจ้าบ้านก่อน ก่อนเข้าไปในบ้านของชาวมาเลเซีย ควรถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้านนะครับ
             เจ้าของบ้านจะเสิร์ฟเครื่องดื่มให้แขกเสมอ เพื่อความสุภาพ ควรรับเครื่องดื่มนั้น       รับประทานอาหาร รับและส่งของโดยใช้มือขวาเพียงข้างเดียว
             ไม่ควรใช้นิ้วชี้มือขวาชี้สถานที่ สิ่งของ หรือคน ให้ใช้นิ้วโป้งมือขวาชี้ โดยพับนิ้วที่เหลือทั้งสี่เก็บไว้
             ก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่ประกอบพิธี เช่น สุเหร่าหรือวัด จะต้องถอดรองเท้าออกก่อน สุเหร่าบางแห่งจัดเตรียมเสื้อผ้าและผ้าคลุมให้แก่นักท่องเที่ยวสตรี ตามปกติแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายภาพในสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนถ่ายรูป ควรขออนุญาตเสียก่อน
             การดื่มอวยพรพบได้ไม่บ่อยนักในมาเลเซีย ประชากรจำนวนมากของประเทศเป็นชาวมุสลิมและไม่ดื่มแอลกอฮอล์
             ห้ามจูบกันบนรถสาธารณะ ไม่ว่าจะแท็กซี่ รถเมล์ รถไฟ
             เวลาจ่ายเงิน รับเงินทอน หรือจับอาหาร อย่าใช้มือซ้าย เพราะมือซ้ายสำหรับคนมาเลเซีย ถือว่าไม่สุภาพ
             ห้ามแตะศีรษะชาวมาเลย์โดยเด็ดขาดเพราะถือเป็นการ หยาบคาย
(ขอขอบคุณข้อมูลข้อควรจำก่อนเที่ยวมาเลเซียทั้งหมดอ้างอิงhttp://www.originaltravel.co.th/trip2_mala_people.html)






 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย
 ด้านการเมืองการปกครอง




 ด้านเศรษฐกิจและการค้า































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น