วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและมาเลเซีย


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย

            ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต กับมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2500  ไทยมีสถานกงสุลใหญ่ในมาเลเซีย 2 แห่ง (สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง และสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู) และมีสถานกงสุลประจำเกาะลังกาวี  สำหรับหน่วยงาน ของส่วนราชการต่างๆ
ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ภายใต้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร  สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานแรงงาน ส่วนหน่วยงานของไทยอื่นๆ ที่ตั้งสำนักงานในมาเลเซีย คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทการบินไทย สำหรับหน่วยงาน ของมาเลเซียในไทยได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย และสถานกงสุลใหญ่ มาเลเซีย ประจำจังหวัดสงขลา
            ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ได้พัฒนาแน่นแฟ้น จนมีความใกล้ชิดกันมาก เนื่องจาก ทั้งสองประเทศมี ผลประโยชน์ร่วมกันหลายประการ การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับพระราชวงศ์ชั้นสูง รัฐบาล และเจ้าหน้าที่ ทั้งอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ เป็นไปอย่าง สม่ำเสมอ แต่แม้ว่าสองฝ่าย แต่ยังคงมีประเด็นปัญหา ในความสัมพันธ์ ซึ่งต้องร่วมมือกันแก้ไข เช่น การปักปันเขตแดนทางบก บุคคลสองสัญชาติ การก่อความไม่สงบในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
            ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซียเมื่อวันที่  31  สิงหาคม  2500  และมีสถานเอกอัครราชทูต  ณกรุงกัวลาลัมเปอร์  คนปัจจุบันคือ  นายธนะ  ดวงรัตน์ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือน  มิถุนายน  2552  นอกจากนี้  ไทยยังได้มีสถานกงสุลใหญ่    โกตาบารู  สำหรับส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆของไทย  ซึ่งตั้งสำนักงานในมาเลเซียสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่าทหารทั้งสามเหล่าทัพ  สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ  สำนักงานแรงงาน  และสำนักงานประสานงานตำรวจ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  บริษัทการบินไทยจำกัด  (มหาชน)  ธนาคารกรุงเทพ   จำกัด  (มหาชน)  มาเลเซีย            มาเลเซียมีสถานเอกอัคราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทยเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน  คือ  ดาโต๊ะ  นาซีราห์  บินติ  ฮุสเซน  และมีสถานกงสุลใหญ่มาเลเชียประจำจังหวัดสงขลา

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียแบ่งออกเป็น
  2  ด้านหลัก  ได้แก่

            
1)
 การดำเนินความร่วมมือภายใต้กลไกต่างๆ  ที่มีอยู่  อาทิคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับมาเลเซีย  คณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน  คณะกรรมการด้านความมั่นคง  ได้แก่  คณะกรรมการชายแดนทั่วไทย  คณะกรรมการระดับสูง  คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาควึ่งทั้งสามระดับเป็นกรอบความร่วมมือของฝ่ายทหารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคง  และความร่วมมือชายแดน  คณะกรรมการด้านความมั่นคงกรอบอื่น  เฉพาะเรื่อง  อาทิ  คณะกรรมการร่วมด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด  และความร่วมมือในกรอบ
 Indonesia-Malaysia-Thailand  Growts  Triangle  ( IMT-GT)  และอาเซียน            2) ความร่มมือในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งประกอบด้วยการส่งเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนร่วมกัน  การร่วมกันพัฒนาและยกระดับคุณภาพของประชาชนในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศและการเสริมสร้างมาตรฐานสร้างความไว้วางใจบนพื้นฐานของกรอบ  3Es  ได้แก่  การศึกษา  การจ้างงาน  และการประกอบกิจการ


ข้อมูลเฉพาะของประเทศมาเลเซีย


ภาพรวมความสัมพันธ์ทั่วไป

            ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซียเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2500 และมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ คนปัจจุบันคือ นายกฤต ไกรจิตติ  ซึ่งเดินทางไปรับหน้าที่เมื่อวันที่ 2 เดือนตุลาคม 2555 นอกจากนี้ ไทยยังมีสถานกงสุลใหญ่ในมาเลเซีย 2 แห่ง ได้แก่ (1) สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง และ (2) สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู สำหรับส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ของไทย ซึ่งตั้งสำนักงานในมาเลเซียได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารทั้งสามเหล่าทัพ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานแรงงาน และสำนักงานประสานงานตำรวจ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มาเลเซีย

            มาเลเซียมีสถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย และเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย ได้แก่ ดาโต๊ะ นาซีระห์ บินตี ฮุสซัยน์ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2554 และมีสถานกงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา และกงสุญใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา ได้แก่ นายไฟซัล แอต มุฮัมมัด ไฟซัล บิน ราซาลี ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555

            ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียแบ่งออกเป็น 2 ด้านหลัก ได้แก่ (1) การดำเนินความร่วมมือภายใต้กลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่ อาทิ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับมาเลเซีย (Joint Commission : JC) คณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน (Joint Development Strategy : JDS) คณะกรรมการด้านความมั่นคง ได้แก่ คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee : GBC) คณะกรรมการระดับสูง (High Level Committee : HLC) และคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee : RBC) ซึ่งทั้ง 3 ระดับเป็นกรอบความร่วมมือของฝ่ายทหารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคง และความร่วมมือชายแดน คณะกรรมการด้านความมั่นคงกรอบอื่น ๆ เฉพาะเรื่อง อาทิ คณะกรรมการร่วมด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และความร่วมมือในกรอบ Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT) และอาเซียน และ (2) ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนร่วมกัน การร่วมกันพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศและการเสริมสร้างมาตรการสร้างความไว้วางใจ (Confidence Building Measures) บนพื้นฐานของกรอบ 3Es ได้แก่ การศึกษา (Education) การจ้างงาน (Employment) และการประกอบกิจการ (Entrepreneurship)

ความสัมพันธ์ด้านการเมือง

            ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียมีพลวัตร รวมทั้งตั้งอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงการมี จุดมุ่งหมายร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีเพื่อสนับสนุนความเชื่อมโยงในอาเซียนทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางและความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน

ความสัมพันธ์ด้านความมั่นคง

            กองทัพไทยกับมาเลเซียมีการฝึกทางทหารระหว่างกันเป็นประจำ ได้แก่ (1) LAND EX THAMAL ซึ่งเป็นการฝึกประจำปีเริ่มเมื่อปี 2536 (2) THALAY LAUT ซึ่งมีการฝึกครั้งแรกเมื่อปี 2523 จัดขึ้นทุก 2 ปี โดยไทยกับมาเลเซียสลับกันเป็นเจ้าภาพ (3) SEA EX THAMAL เริ่มเมื่อปี 2522 มีพื้นที่ฝึกบริเวณพื้นที่ปฏิบัติการร่วมชายแดนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซียทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน (4) AIR THAMAL เป็นการฝึกการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีตามบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ตั้งแต่ปี 2525 โดยทำการฝึกทุกปี ประกอบด้วยการฝึกภาคสนามสลับกับการฝึกปัญหาที่บังคับการ และสลับกันเป็นเจ้าภาพ  และ (5) JCEX THAMAL เป็นการฝึกร่วม/ผสมภายใต้กรอบการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงครามในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ และการช่วยเหลือประชาชน
            อนึ่ง เมื่อวันที่ 3
7 มีนาคม 2555 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซียและผู้บัญชาการ
ทหารสูงสุดมาเลเซียเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารและเทคโนโลยีด้านการรักษาความปลอดภัยประจำปี 2555 ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี มและเมื่อวันที่ 17-19 เมษายน 2555 รองผู้บัญชาการทหารบกและผู้แทนระดับสูงจากกระทรวงกลาโหมได้เดินทางเยือนมาเลเซียเพื่อเข้าร่วม
Defence Services Asia – DSA 2012) ครั้งที่ 13 และมาเลเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการระดับสูงไทย มาเลเซีย (HLC) ครั้งที่ 28 ระหว่างวันที่ 1416 พฤษภาคม 2555 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม


ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

การค้า
            ในปี 2554 มาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4  การค้ารวมระหว่างไทยกับมาเลเซียมีมูลค่า 24,724.8  ล้านดอลลาร์สหรัฐ (749,626.68 ล้านบาท) ไทยส่งออก 12,398.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (373,606.62 ล้านบาท) และนำเข้า 12,326.06  ล้านดอลลาร์สหรัฐ(376,020.05 ล้านบาท) โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 72.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เสียเปรียบดุลการค้าเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยน 2,4613.43 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.10 เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการค้ารวมปี 2553 การค้าชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียมีมูลค่า 18,688.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (560,654.99 ล้านบาท) โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 6,602.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (198,073.34 ล้านบาท) ทั้งนี้ การค้าชายแดนประกอบเป็นสัดส่วนร้อยละ 74 ของการค้ารวมระหว่างไทยกับมาเลเซีย            สินค้าส่งออกของไทยไปมาเลเซีย ได้แก่ ยางพารา คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ  น้ำมันสำเร็จรูป  แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากมาเลเซียประกอบด้วย น้ำมันดิบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ สื่อบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน น้ำมันสำเร็จรูป สินแร่และโลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์

การลงทุน

            ในปี 2554 มาเลเซียลงทุนในไทยจำนวน 34 โครงการ มีมูลค่า 6,135 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในสาขาการบริการยานยนต์ การเกษตร และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 21 โครงการ  คิดเป็นมูลค่า 3,863 ล้านบาท มาเลเซียสนใจมาลงทุนในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปยางพาราและปาล์มน้ำมัน เนื่องจากมาเลเซียมีศักยภาพในการลงทุน และการลงทุนในไทยจะช่วยลดต้นทุนการผลิตเนื่องจากไทยมีแรงงานและอุตสาหกรรมสนับสนุนที่ดีกว่ามาเลเซีย ทั้งนี้ Malaysia Industrial Development Authority (MIDA) อนุมัติส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่มีภาคการลงทุนของไทยลงทุนด้วยจำนวน 3 โครงการ มีมูลค่า 2,415 ล้านบาท นักลงทุนไทยที่สนใจไปลงทุนในมาเลเซียได้แก่ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท เครือซีเมนต์ไทย กลุ่มบริษัทสามารถ และร้านอาหารไทย

การท่องเที่ยว
            ในปี 2554 มีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเดินทางมาประเทศไทยมากเป็นอันดับหนึ่งจำนวน 2.47 ล้านคน ขณะที่มีนักท่องเที่ยวไทยไปมาเลเซียจำนวน 1.52 ล้านคน

แรงงานไทย
            ปัจจุบัน มีแรงงานไทยในมาเลเซียประมาณ 210,000 คน โดยเป็นแรงงานถูกกฎหมายประมาณ 6,600 คน ทั้งนี้ ในปี 2553 มีแรงงานต่างชาติที่ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในมาเลเซียจำนวน 458,698 คน โดยแรงงานจากอินโดนีเซียจัดเป็นลำดับหนึ่ง ร้อยละ 55.81 และแรงงานไทยจัดอยู่ในลำดับ 9 ร้อยละ 1.45 มาเลเซียมีความต้องการแรงงานไทยสาขาก่อสร้าง งานนวดแผนไทย งานบริการ การเกษตรชายแดน อุตสาหกรรมและงานแม่บ้าน ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นบังคับใช้ ค่าจ้างขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ไทยกับมาเลเซียมีความร่วมมือด้านแรงงานในกรอบคณะทำงานร่วมด้านความร่วมมือแรงงานภายใต้คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย-มาเลเซีย

ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม
            ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในมาเลเซียประกอบด้วย (1) กลุ่มแรงงานไทยในร้านต้มยำของมาเลเซีย (ร้านอาหารไทย) จำนวนมากกว่า 10,000 คน และ (2) กลุ่มนักเรียนทุนรัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งศึกษาระดับมัธยมต้น มัธยมปลายในโรงเรียนสอนศาสนาของรัฐบาลมาเลเซียจำนวน 350 คน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนมาเลย์เชื้อสายสยาม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวไทยอาศัยอยู่ใน 4 มณฑลในภาคใต้ตอนล่างของสยาม เนื่องจากเมื่อปี 2452 รัฐบาลสยามตกลงมอบ 4 มณฑลให้อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษกับการให้อังกฤษยอมรับอธิปไตยของสยามในส่วนอื่นของประเทศ คนเหล่านี้จึงตกค้างและกลายเป็นพลเมืองของมาเลเซียในปัจจุบัน คนสยามดังกล่าวมีการสืบทอดวัฒนธรรมไทย เช่น ประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง เข้าพรรษา ออกพรรษา กฐิน และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาสื่อสารในท้องถิ่น

ความร่วมมือทางวิชาการ
            ไทยและมาเลเซียมีความร่วมมือทางวิชาการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างไทยกับมาเลเซีย ลงนามเมื่อ 21 สิงหาคม 2550 และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับมาเลเซีย ลงนามเมื่อ 19 มกราคม 2554 ซึ่งดำเนินความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของไทยและมาเลเซีย การแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการศึกษา และการให้ทุนการศึกษา นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังมีความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชาการไทย มาเลเซีย (Thailand-Malaysia Think Tank and Scholar Network) โดยมีศูนย์ดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Institute of Strategic and International Studies ของมาเลเซียเป็นผู้ประสานงานหลัก

ความสัมพันธ์ด้านต่างประเทศและการเยือนที่สำคัญของฝ่ายไทย

พระราชวงศ์
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

- วันที่ 2027 มิถุนายน 2505 เสด็จฯ เยือนสหพันธ์มลายาอย่างเป็นทางการ

- วันที่ 25 เมษายน 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนรัฐกลันตันอย่างเป็นทางการตามคำกราบบังคมทูลเชิญของสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน เพื่อทรงร่วมเสวยพระกระยาหารค่ำในวโรกาสที่สุลต่านแห่งรัฐกลันตันทรงครองราชย์ครบ 25 ปี

- วันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนรัฐกลันตัน เพื่อทรงร่วมงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ในวโรกาสพิธีอภิเษกสมรสของมกุฎราชกุมารรัฐกลันตัน กับนางสาวกังสดาล พิพิธภักดี (สตรีไทยซึ่งมีภูมิลำเนาที่ จ.ปัตตานี)

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

- วันที่ 712 กรกฎาคม 2529 เสด็จฯ เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการตามคำทูลเชิญของสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 8 แห่งมาเลเซีย

- วันที่ 30 สิงหาคม 1 กันยายน 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จฯ แทนพระองค์ไปทรงร่วมงานฉลองเอกราช 50 ปี ของมาเลเซีย ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 แห่งมาเลเซีย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

- วันที่ 6 -12 พฤษภาคม 2526 ทรงเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมสภากาชาด-สมาชิกวงเดือนแดง กลุ่มประเทศอาเซียน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยทรงเป็นอาคันตุกะของรัฐบาลมาเลเซีย

- วันที่ 1115 เมษายน 2537 เสด็จฯ เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

- วันที่ 1719 มีนาคม 2540 เสด็จฯ เยือนมาเลเซียเพื่อทอดพระเนตรโครงการเกษตรในพื้นที่สูง ที่คาเมรอนไฮแลนด์

- วันที่ 24 กรกฎาคม 2555 เสด็จฯ เยือนมาเลเซียเพื่อทรงนำนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าไปศึกษาดูงานด้านอิสลามสายกลาง

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

- วันที่ 8 -11 กรกฎาคม 2544

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

- วันที่ 8 กันยายน 2544

รัฐบาล

- วันที่ 2425 เมษายน 2544 พันตำรวจโททักษิณชินวัตร เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

- วันที่ 18 ตุลาคม 2549 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

- วันที่ 2324  เมษายน 2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

- วันที่ 8 มิถุนายน 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

- วันที่ 89 มีนาคม 2544 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

-  วันที่ 912 มิถุนายน 2548 นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

-  วันที่ 2223 มีนาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลย์สงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

- วันที่ 1213 พฤษภาคม 2553 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

- วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

การเยือนที่สำคัญของฝ่ายมาเลเซีย

พระราชวงศ์

สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินี

- วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 3 มีนาคม 2507 สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินี เสด็จฯ เยือนไทย ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

- วันที่ 1 -8 กุมภาพันธ์ 2516 สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 และสมเด็จพระราชินีเสด็จฯ เยือนไทย ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

- วันที่ 1721 ธันวาคม 2528 สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 8 และสมเด็จพระราชินีเสด็จฯ เยือนไทย ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

- วันที่ 1721 ธันวาคม 2533 สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 9 และสมเด็จพระราชินีเสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

- วันที่ 2730 มีนาคม 2543 สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 11 และสมเด็จพระราชินีเสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

- วันที่ 1114 มิถุนายน 2549 สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 12 และสมเด็จพระราชินีเสด็จฯ เยือนไทย เพื่อทรงร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

- วันที่ 912 มีนาคม 2552 สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 และสมเด็จพระราชินี เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

รัฐบาล

- วันที่ 16 มกราคม 2547 ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เยือนไทยอย่างเป็นทางการในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง

- วันที่ 1314 ตุลาคม 2547 ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เยือนไทยเพื่อร่วมการประชุมหารือประจำปี (Annual Consultation) ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดภูเก็ต และเป็นประธานร่วมในพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 ระหว่างบ้านบูเก๊ะตา จังหวัดนราธิวาส กับบูกิตบุหงา รัฐกลันตัน

- วันที่ 1113 กุมภาพันธ์ 2550 ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล

- วันที่ 79 ธันวาคม 2552 ดาโต๊ะ ซรี มูห์ฮัมหมัด นาจิบ บิน ตุน อับดุล ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เยือนไทยอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าร่วมการประชุมหารือประจำปี (Annual Consultation) ครั้งที่ 4

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซียเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 50 ระหว่างวันที่ 4 5 สิงหาคม 2553 ที่กรุงเทพฯ


(ขอขอบคุณข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและมาเลเซีย จาก http://viyadasri.wordpress.com)

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ชุดประจำชาติและการแต่งกาย

ชุดประจำชาติ

สำหรับชุดของผู้ชาย
ขอขอบคุณภาพจาก http://hilight.kapook.com/view/73561
เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย 
ส่วนชุดของผู้หญิง
ขอขอบคุณภาพจาก http://hilight.kapook.com/view/73561


เรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว การแต่งกายของชาวมาเลเซีย

ส่วนการแต่งกายนะครับ
          ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติของชาติมาเลเซีย  ซึ่งเคร่งครัดในระเบียบปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนา  โดยเฉพาะการแต่งกายที่สุภาพมิดทั้งหญิงและชาย ในอดีตผู้ชายชาวมาเลเซียมักนุ่งโสร่งไม่สวมเสื้อ  หรือถ้าจะสวมใส่ก็เป็นเสื้อแขนสั้นหรือกางเกงขาสั้นแทนโสร่งแทน  ส่วนผู้หญิงนิยมนุ่งผ้ากระโจมอก  บางคนอาจมีผ้าบางๆไว้คลุมไหล่ องค์สุลต่านอาบูบาการ์แห่งรัฐยะโฮร์  ทรงเห็นว่าการแต่งกายของชาวมาเลเซียไม่เรียบร้อย  อีกทั้งไม่มีชุดประจำชาติที่ดูสุภาพพระองค์จึงทรงคิดให้ชุด  บาจู  กูหรง  (Baji  Kurung)ซึ่งเป็นภาษามลายู  แปลว่า ปกปิดมิดชิดลักษณะเด่นของชุดบาจู  กูหรงไม่ว่าของผู้ชายหรือผู้หญิง  มักจะตัดเย็บด้วยผ้าผืนเดียวกัน  เพราะฉะนั้นทั้งสีและลวดลายบนผืนผ้า จึงเป็นแบบเดียวกันทั้งชุด  แต่ชุดของผู้ชายกลับมีเครื่องเครามากกว่าของผู้หญิงชุดผู้ชาย ทั้งเสื้อและกางเกงลวดลายสีสันเดียวกันทั้งชุด   ไม่นิยมลวดลายสัตว์หรือผิดหลักศาสนาอิสลาม เสื้อผู้ชายเป็นแขนยาว  ทั้งแบบคอลมและคอจีน  ซึ่งมีรังดุมราว  2-5  เม็ด  ผ่าจากคอเสื้อลงมาถึงกลางอก ส่วนท่อนล่างจะเลือกใส่กางเกงหรือผ้าโสร่งก็ได้  ถ้าใส่กางเกงต้องมีผ้าพัน  หรือมองดูคล้ายโสร่งสั้น  จากสะดือถึงเข่า  ภาษามลายูเรียกผ้าพันนี้ว่า  ซัมปิน  (Sampin)  ซึ่งสีไมฉูดฉาด  แต่ก็สวยงามบางทีเป็นผ้าไหม  ดิ้นทอง  ซัมปินทำให้ชุดผู้ชายดูสุภาพเรียบร้อย  ทั้งยังสามารถกันเปื้อนได้อีกด้วย ที่ศีรษะผู้ชายจะสวมหมวกแขกกำหยี่สีดำ  ภาษามลายูเรียกว่า  ซองโก๊ะ  (Songkok)  แต่ถ้าจะให้เต็มยศบางคนก็จะสวมผ้าพันเป็นรูปมงกุฎสวมทับไปบนหมวกอีกชั้นหนึ่ง

          การพับผ้าเป็นรูปมงกุฎมีแบบต่างๆ เช่น  รูปนกอินทรีปีกหัก  รูปช้างรบ  รูปสู้ลม  ถือเป็นศิลปะที่ต้องใช้เวลาประดิดประดอย  จึงไม่เป็นที่นิยม  ในอดีตการสวมผ้าพับรูปมงกุฎนี้เป็นเครื่องบอกชนชั้นในสังคมมาเลเซีย  ส่วนใหญ่เป็นเครื่องทรงขององค์สุลต่านและราชวงศ์  ส่วนสามัญชนจะสวมใส่ผ้าพันมงกุฎนี้ในวันสำคัญเช่นในวันแต่งงาน  ซึ่งหมายถึงเจ้าบ่าวเป็นเจ้าชายในวันนั้น

          สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวมาเลเซียคือ  กริช  ซึ่งเคยเป็นอาวุธประจำกายของผู้ชายที่ต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลา  แต่ปัจจุบันกริช  ใช้เป็นเครื่องประดับในชุดบาจู  กูหรง  โดยเหน็บข้างเอวให้เห็นเท่านั้น  การแต่งกายแบบนี้สำหรับชาวมาเลเซียถือว่าสุภาพมาก  มักแต่งไปในงานพิธีเช่นงานแต่งงานที่กล่าวมานี้ค่อนข้างเป็นการแต่งกายที่เป็นทางการ  แต่ถ้าต้องการความสะดวกเรียบง่าย  เพื่อไปประกอบพิธีกรรมที่มัสยิด     ก็เพียงโสร่ง  สวมเสื้อปล่อยชายยาวคลุมทับโสร่ง  สวมหมวกกำมะหยี่สีดำบางครั้งผู้ชายก็แต่งตัวอย่างสากล  ใส่เสื้อแขนยาวสีขาวหรือสีอ่อน  ดูสุภาพ    กับกางเกงสีเข้ม  และที่ขาดไม่ได้คือใส่หมวกกะปิเยาะห์

             ชุดผู้หญิง  มีเครื่องแต่งกายน้อยชิ้นกว่าชาย  ทั้งเสื้อและกระโปรงตัดด้วยผ้าบางเบา  เนื่องจากภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าว  ผ้าเป็นลวดลายและสีเดียวกันทั้งชุด    หรือสีที่เข้ากันดีระหว่างเสื้อกับผ้านุ่ง    นิยมลวดลายดอกไม้สีสันสดใส เสื้อผู้หญิงเป็นแบบแขนยาว  ชายเสื้อยาวลงมาถึงเข่า  บางคนนิยมตัดเย็บเสื้อเข้ารูป  แต่บางคนปล่อยให้หลวมๆ  ไม่เน้นรูปร่าง  ส่วนท่อนล่างเป็นกระโปรงยาวคลุมตาตุ่ม  ไม่ผ่าข้าง เมื่ออกนอกบ้าน  ผู้หญิงมาเลเซียนิยมคลุมศีรษะด้วยผ้าบางเบา  มีสีสันลวดลายดูกลมกลืนหรือเป็นลายเดียวกับเสื้อและกระโปรง  ผ้านี้บางทีก็นำมาคลุมไหล่เป็นเครื่องประดับได้ด้วย  สตรีมุสลิมที่เคร่งครัดก็มักคลุมฮิญาบ   หรือที่ชาวมลายูเรียกว่า  ตุดง (Tudung)  ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น

(ข้อมูลชุดประจำชาติและการแต่งกายขอขอบคุณอ้างอิง http://aec.muslimthaipost.com/main/content.php?page=sub&category=7&id=74 และ http://viyadasri.wordpress.com)

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเทศมาเลเซีย


ขอขอบคุณภาพจาก httpssites.google.comsitenongorry1laksna-phumiprathes

ประเทศมาเลเซีย “Malaysia”  เป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแบ่งออกเป็น  2 แผ่นดิน
ขอขอบคุณภาพจาก http://aseanroom.edupol.org/adata.html
โดยมีทะเลจีนใต้กั้น แผนดินส่วนแรก คือ คาบสมุทรมลายู หรือ มาเลเซียตะวันตก มีพรมแดนทางทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ แผนดินส่วนที่สอง คือ ตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว หรือ มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน ในปัจจุบันประเทศมาเลเซียประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐใหญ่ๆ ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329
,758 ตารางกิโลเมตร  และมีจำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ เศรษฐกิจสำคัญของประเทศคือ  ยางพารา แร่ดีบุก แร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ ซึ่งส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีการทำป่าไม้ อุตสาหกรรม อีกด้วย ประเทศมาเลเซียมีการปกครองแบบ ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา และมีพระมหากษัตริย์และมีนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกันกับประเทศไทย

ที่ตั้งประเทศ

       ประเทศมาเลเซียตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใกล้เส้นศูนย์สูตร ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑ และ ๗ องศาเหนือ กับ เส้นแวงที่ ๑๐๐ และ ๑๑๙ องศาตะวันออกประกอบด้วยแผ่นดินสองส่วน คือ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก 


แผ่นดินมาเลเซียตะวันตก
ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมาเลเซีย ปัจจุบันประกอบด้วยรัฐต่างๆ ๑๑ รัฐ ได้แก่ ยะโฮร์ เคดาห์ กลันตัน มะละกา เนกรี-เซมบิลัน ปาหัง ปีนัง เปรัค เปอร์ลิส ตรังกานู และเซลังงอร์
ขอขอบคุณ ภาพจากhttp://www.thaibizmalay.com/Thai
BizMalay/index.php?option=com_content&view=ar
ticle&id=192:2013-08-30-02-09-17&catid=66:fact-sheets
ส่วนที่ยาวที่สุดจากรัฐเปอร์ลิสถึงช่องแคบยะโฮร์ ยาว ๗๔๐ กิโลเมตร ส่วนกว้างที่สุดจากฝั่งตะวันออกถึงฝั่งตะวันตก กว้าง ๓๒๐ กิโลเมตร มีพื้นที่รวม ๑๓๑
,๕๘๗.๖๗ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และหนองบึง ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่


แผ่นดินมาเลเซียตะวันออก

        ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกาลิมันตันหรือเกาะบอร์เนียว
ขอขอบคุณภาพจาก http://malaysia.moohin.in.th/?page_id=144
ปัจจุบันประกอบด้วย ๒ รัฐคือ ซาบาห์ และซาราวัคโดยมีประเทศบรูไนคั่นอยู่ระหว่างรัฐทั้งสองมีพื้นที่๑๙๘
,๘๙๗.๔ ตารางกิโลเมตร






ทิศเหนือของประเทศมาเลเซีย  :  มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศไทย
ทิศใต้ของประเทศมาเลเซีย   :  มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศสิงคโปร์
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมาเลเซีย :   มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศฟิลิปปินส์
ทิศตะวันตกของประเทศมาเลเซีย  :  มีอาณาเขตติดต่อกับช่องแคบมะละกาและเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง :
 มีชื่อว่า กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
เมืองราชการ : มีชื่อว่า เมืองปุตราจายา (Putrajaya)

ประชากร
            มาเลเซียมีประชากรอยู่หนาแน่นบนแหลมมลายู บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันตก โดยมีประชากรประมาณร้อยละ ๘๒ รองลงมาคือ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนที่อยู่ในเกาะบอร์เนียว มีประชากรอยู่หนาแน่น บริเวณที่ราบชายฝั่งทางตอนใต้ของรัฐซาราวัค แถบบริเวณแม่น้ำ มาเลเซียมีหลายเชื้อชาติ ประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียวและยังมีชนเผ่าน้อยในรัฐซาบาห์ และซาราวัค ทำให้เกิดเป็นชาติพันธุ์ลูกครึ่งเชื้อชาติต่างๆ เช่น  ชาวมาเลย์  อินเดีย จีน ในปี พ..2549 มีประชากรทั้งหมด 26.24 ล้านคน
 

ภาษาที่ใช้
       ภาษาหลักที่ใช้เป็นภาษามาเลย์(Bahasa Malaysia) เป็นภาษาราชการ และยังมีภาษา อังกฤษ จีน และทมิฬเป็นภาษารองโดยใช้กันทั่วไป

ศาสนา
       ส่วนใหญ่ในประเทศนับถือศาสนา อิสลาม ส่วนใหญ่(ร้อยละ 60.4) และยังมีศาสนาพุทธ(ร้อยละ 19.2) ศาสนาคริสต์(ร้อยละ 11.6) ศาสนาฮินดู(ร้อยละ 6.3) และศาสนาอื่นๆ (ร้อยละ 2.5)

หน่วยเงินตรา
       ประเทศมาเลเซียมีสกุลเงินว่าริงกิต โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 10.42 บาท ต่อ 1 ริงกิต
ขอขอบคุณภาพจาก


อาหารประจำชาติ
                สำหรับอาหราของประเทสมาเลเซียนะครับ ก็มี 2 ชนิด ด้วยกันนะครับ  อย่างแรกก็คือ นาซิ เลอมัก(Nasi Lemak)”นี้เป็นอาหารยอดนิยมของมาเลเซีย ทำจาก ข้าวหุงกับกะทิและใบเตย ทานพร้อม เครื่องเคียง 4 อย่างได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ  นาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะ ห่อด้วยใบตองและมักทานเป็นอาหารเช้าแต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลาย ในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทย
ขอขอบคุณภาพจาก httpen.wikipedia.orgwiki
Fish_head_curry
และอย่างที่สองคือ แกงหัวปลา(Curry Fishhead)”  แกงหัวปลาเป็นอาหารมาเลที่ผสมผสานด้วย เครื่องเทศและใบการี่ลีฟ ซึ่งเป็นผักของอินเดีย รสชาตินั้นกลมกล่อมมาก เคล็ดลับที่สำคัญของอาหารจานนี้คือหัวปลาจะต้องไม่คาวเพราะ หากหัวปลาคาวแล้วก็จะทำให้น้ำแกงคาวไปด้วยและทำให้รสชาติไม่อร่อย



สัตว์ประจำชาติ
           สัตว์ประจำชาติมาเลเซียนะครับก็คือ เสือโคร่งมลายู
ขอขอบคุณภาพจาก httppitchayaninny.blogspo
t.com2013065-malaysia.html
ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้ายน่ากลัวมากเลยครับ
  เสือโคร่งมลายู หรือ เสือโคร่งมาเลเซีย เสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Panthera tigris jacksoni” ในวงศ์ “Felidae” เมื่อปี ค.ศ. 2004 อันเนื่องจากดีเอ็นเอที่ต่างกับสายพันธุ์อื่น จึงได้เป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ใหม่ มีถิ่นฐานอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู พบในป่าดิบชื้นของมาเลเซีย และป่าตอนใต้สุดของไทยที่ติดกับชายแดน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976 กฎหมายของมาเลเซียระบุให้เสือโคร่งเป็นสัตว์คุ้มครองอย่างเข้มงวดภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่า ในปีนั้น กรมสัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติประเมินว่ายังมีเสือโคร่งอยู่ในประเทศประมาณ 300 ตัว มาเลเซียประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการควบคุมและลดปริมาณการล่าสัตว์ ในช่วงปี ค.ศ. 1972-ค.ศ. 1976 มีการล่าเสือโคร่งถึง 19 ตัวต่อปีโดยเฉลี่ย แต่ในปัจจุบันเหลือประมาณ 1 ตัวต่อปีเท่านั้น และประชากรเสือโคร่งได้เพิ่มขึ้น ในปี ค.ศ. 2007 คาดว่ามี ปริมาณเสือโคร่งมาเลเซียวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 490 ตัวเท่านั้นครับ

ดอกไม้ประจำชาติ
ขอขอบคุณภาพจาก httppitchayaninny.
blogspot.com2013065-malaysia.html
            สำหรับดอกไม้ประจำชาติมาเลเซียนะครับก็คือ ดอกพู่ระหง” หรือ ดอกชบา ที่เรารู้จักกันนิเองครับ แต่คนมาเลเซียเรียก ดอกชบา นี้ว่าดอก Bunga raya หรือดอกพู่ระหง ชื่อพื้นเมืองของที่โน้น เรียกว่า บุหงารายอ ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ดอกไม้นี้มีความหมายนะครับ กลีบดอก 5 กลีบของดอก เป็นตัวแทน 5 หลักการแห่งความเป็นชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นปรัชญาเพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ ดอกพู่ระหงพบได้ทั่วไปในประเทศมาเลเซีย และบางส่วนของต้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และความงามได้อีกด้วย


ภูมิอากาศ
            ประเทศมาเลเซียมาเลเซียตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศภาคพื้นสมุทร อากาศร้อนชื้นและฝนตกชุก อยู่ภายใต้อิทธิพลของกระแสลมจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งทำให้เกิดฝนในเขตชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมาเลเซียชายฝั่งรัฐซาบาห์และซาราวัค ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อุณหภูมิประจำวันโดยเฉลี่ยแตกต่างกันระหว่าง ๒๑-๓๒ องศาเซลเซียส และบริเวณที่สูงมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง ๒๖-๒๙ องศาเซลเซียส ความชื้นประมาณร้อยละ ๘๐ จำนวนน้ำฝนวัดได้ต่อปีอยู่ระหว่าง ๒,๐๓๒ ถึง ๒,๕๔๐ มิลลิเมตร


ลักษณะภูมิประเทศ
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก
 httpwww.ce7plus.comindex.phpopt
ion=com_content&view=article
&id=1782013-10-02-07-18-55&catid=652013-10-02
-07-19-37&Itemid=103&lang=zh
            มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนแหลมมลายู ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และหนองบึง ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่  บริเวณชายฝั่งตะวันตก ที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ชายฝั่งเต็มไปด้วยหนองบึง และป่าไม้โกงกาง ผิวดินเป็นดินเหนียว และโคลนตม คงมีเหลือพื้นที่ราบซึ่งเป็นดินทรายบางบริเวณ พื้นดินตอนในห่างจากบริเวณที่ราบชายฝั่งสองด้าน ค่อย ๆ เปลี่ยนระดับเป็นที่ราบสูง บริเวณเชิงเขา พื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินแดง และดินปนทราย ดินเหนียวและดินลูกรัง
            มาเลเซียตะวันออก  ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ
                ที่ราบชายฝั่ง และริมทะเลมีหนองบึง และป่าโกงกาง ที่เชิงเขา และทิวเขาสูงมีความสูงชัน มีเหวลึกปกคลุมด้วยป่าทึบยากแก่การสัญจร มียอดเขาสูงสุดอยู่ทางภาคเหนือ มีลักษณะผิวดินแตกต่างกันออกไป บริเวณพื้นที่รอบชายฝั่งส่วนใหญ่เป็นประเภทดินเหนียว และดินโคลนตม ซึ่งมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ในบริเวณบางแห่งมีกรวดทรายปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก
            เทือกเขา  เทือกเขาสำคัญของมาเลเซียประกอบด้วยเทือกเขาบินดัง เทือกเขาโกฮิมหรือเทือกเขา
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก
http://203.172.179.24/historysk1/his4/asean6.htm
กลาง เทือกเขาตรังกานู ในแหลมมลายู และเทือกเขากินาบาลู ในเกาะบอร์เนียว ซึ่งมียอดเขาโกตาคินาบาลูเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในมาเลเซีย
            แหล่งน้ำ  ในแหลมมลายูมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำคาดาห์ แม่น้ำซุนดา แม่น้ำเกรียน แม่น้ำเปรัค แม่น้ำปาหัง แม่น้ำกลันตัน แม่น้ำมุดา แม่น้ำเบอร์นัม แม่น้ำสลังงอร์และแม่น้ำกลัง
            ในเกาะบอร์เนียวมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำรายัง มีความยาวประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร  แม่น้ำมาลุย ยาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำกินาบาดางัน
            ชายฝั่งทะเล  ในแหลมมลายูฝั่งทะเลด้านตะวันออกติดต่อกับทะเลจีนใต้ ลักษณะท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยปะการัง และหินใต้ทะเลน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่าง ๆ ฝั่งทะเลมีความยาวประมาณ ๑,๙๐๐ กิโลเมตร  บริเวณชายฝั่งมีความลึกตั้งแต่ ๑๒๐ - ๓๐๐ ฟุต เป็นหาดทรายยาวเหยียดติดต่อกัน มีที่ราบลุ่มอยู่เป็นบางตอน ฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นหาดเลน พื้นที่ลึกเข้าไปในบริเวณชายฝั่งเป็นที่ลุ่ม และหนองบึง และป่าไม้โกงกาง คงมีเฉพาะบางแห่งเท่านั้นที่มีหาดทราย
            ในเกาะบอร์เนียว ฝั่งทะเลบริเวณใต้สุดของทะเลจีนใต้ ท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวมีความลึกพอสมควร มีกลุ่มหินปะการังอยู่เป็นหย่อม ๆ ในระยะลึก นอกจากนั้นยังมีหินใต้น้ำอยู่เป็นบางตอนในบริเวณใกล้ชายฝั่ง เป็นอุปสรรคในการเดินเรือใกล้ฝั่ง บริเวณฝั่งทะเลรัฐซาราวัคมีความลึกใกล้ฝั่งประมาณ ๒๐ - ๓๐ ฟุต  ห่างออกไปจากฝั่ง บางพื้นที่ลึกมาก บางแห่งลึกประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ ฟุต
            บริเวณชายฝั่งของรัฐซาบาห์ ทิศเหนือติดต่อกับทะเลจีนใต้ ความลึกของทะเลมีมากกว่ารัฐซาราวัค 
(ขอขอบคุณข้อมูลลักษณะภูมิประเทศจาก http://asean-malaysia.blogspot.com/2012/01/blog-post.html)


ข้อควรจำก่อนเที่ยวมาเลเซียนะครับ
            มาเลเซียเป็นประเทศที่ผู้คนใช้ชีวิตอย่างง่ายๆ สบายๆ อย่างไรก็ตาม เรามีขนมธรรมเนียมเป็นของตนเอง ผู้มาเยือนควรปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมเหล่านี้เมื่อเดินทางมาถึงมาเลเซีย ขนมธรรมเนียมทั่วไป เช่น ถึงแม้ว่าการจับมือทักทายจะได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง แต่สุภาพสตรีมุสลิมบางคนอาจเลือกที่จะทักทายสุภาพบุรุษด้วยการพยักหน้าเล็กน้อยและยิ้ม
            การจับมือทักทายจึงควรให้สุภาพสตรีเป็นผู้เริ่มก่อน การทักทายแบบดั้งเดิมหรือที่เรียกว่าซาลามคล้ายกับการแตะมือด้วย 2 มือ โดยไม่ได้จับมือของอีกฝ่าย ผู้ชายจะยื่นมือทั้งสองข้างมาข้างหน้าและสัมผัสกับมือของอีกฝ่ายที่ยื่นออกมาในลักษณะเดียวกัน จากนั้นจึงดึงมือทั้งสองข้างกลับมาแตะบริเวณหน้าอก หมายความว่า "ผมทักทายคุณด้วยหัวใจ" เมื่อได้รับการทักทายด้วยการซาลาม นักท่องเที่ยวควรทักทายด้วยการซาลามกลับไป
             ก่อนที่จะเดินทางไปเยี่ยมบ้านของผู้อื่น ควรจะตะโกนแจ้งเจ้าบ้านก่อน ก่อนเข้าไปในบ้านของชาวมาเลเซีย ควรถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้านนะครับ
             เจ้าของบ้านจะเสิร์ฟเครื่องดื่มให้แขกเสมอ เพื่อความสุภาพ ควรรับเครื่องดื่มนั้น       รับประทานอาหาร รับและส่งของโดยใช้มือขวาเพียงข้างเดียว
             ไม่ควรใช้นิ้วชี้มือขวาชี้สถานที่ สิ่งของ หรือคน ให้ใช้นิ้วโป้งมือขวาชี้ โดยพับนิ้วที่เหลือทั้งสี่เก็บไว้
             ก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่ประกอบพิธี เช่น สุเหร่าหรือวัด จะต้องถอดรองเท้าออกก่อน สุเหร่าบางแห่งจัดเตรียมเสื้อผ้าและผ้าคลุมให้แก่นักท่องเที่ยวสตรี ตามปกติแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายภาพในสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนถ่ายรูป ควรขออนุญาตเสียก่อน
             การดื่มอวยพรพบได้ไม่บ่อยนักในมาเลเซีย ประชากรจำนวนมากของประเทศเป็นชาวมุสลิมและไม่ดื่มแอลกอฮอล์
             ห้ามจูบกันบนรถสาธารณะ ไม่ว่าจะแท็กซี่ รถเมล์ รถไฟ
             เวลาจ่ายเงิน รับเงินทอน หรือจับอาหาร อย่าใช้มือซ้าย เพราะมือซ้ายสำหรับคนมาเลเซีย ถือว่าไม่สุภาพ
             ห้ามแตะศีรษะชาวมาเลย์โดยเด็ดขาดเพราะถือเป็นการ หยาบคาย
(ขอขอบคุณข้อมูลข้อควรจำก่อนเที่ยวมาเลเซียทั้งหมดอ้างอิงhttp://www.originaltravel.co.th/trip2_mala_people.html)






 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย
 ด้านการเมืองการปกครอง




 ด้านเศรษฐกิจและการค้า